วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Project

กลุ่มที่ 10

สมาชิกกลุ่ม 
นางสาวศิริวรรณ    ติงสมิตร   เลขที่ 16   ชั้น ม.5/11
นางสาวชญานิษฐ์  ศรอินทร์   เลขที่ 17   ชั้น ม.5/11
นางสาวกชรัตน์      ตรีเพชรประภา  เลขที่ 34   ชั้น ม.5/11

วิธีดำเนินการ
วัสดุอุปกรณ์ 
1.คอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต
2.โทรศัพท์ อัดวีดีโอ
3.โปรแกรมตัดต่อคลิปและตกแต่ง
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.คิดหัวข้อเรื่อง
2.ปรึกษาครูที่ปรึกษา
3.ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่สนใจ
4.ศึกษาการสร้างเว็บบล็อก
5.จัดทำโครงร่างโครงงานเพื่อนำเสนอ
6.ปฎิบัติจัดทำโครงงานการพัฒนาเว็บบล็อก
7.นำเสนอความก้าวหน้าเป็นระยะๆ

ผลการดำเนินการ 
การทำโครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดให้ลดน้อยลง และทำให้คนในสังคมหันมาสนใจในการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำโครงงานที่จัดทำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนสุราษฎร์พิทยาและสถานที่บริเวณในเมืองสุราษฎร์ธานี

หลักฐานประกอบ
http://goo.gl/dEqgCa <<คลิ๊กที่นี่

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สภาพปัญหาในปัจจุบัน
ปัจจุบันสุนัขการเป็นอาหารที่คนนิยมบริโภค หลายประเทศในโลกนี้มีการกินเนื้อหมาอย่างกว้างขวาง เช่น จีน อิโดนีเซีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ใต้หวัน เกาหลี สวิตเซอร์แลนด์ เวียดนาม โพลีนีเซีย และพื้นที่บริเวณขั้วโลก (ไซบีเรีย-อลัสการ์) ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย จนเกิดการเป็นการค้าเนื้อสุนัข วิธีการหาสุนัขมาขาย คือจะขับรถกระบะไปตามหมู่บ้าน เพื่อขอแลกสุนัขกับถังน้ำและกะละมัง ขับรถหาสุนัขจนได้เยอะแล้วจึงนำไปส่งขายที่ จังหวัดสกลนคร บ้านท่าแร่ แต่หากมีเยอะมากสุนัขจะถูกส่งไปขายที่ประเทศเวียดนามและประเทศลาว  
ผลกระทบต่อคนป็นพาหะสำคัญนำโรคพิษสุนัขบ้า และโรคสัตว์ติดคนอื่น ๆ
1.  รบกวนและสร้างความเสียหายต่อปศุสัตว์
2.  มลพิษจากอุจจาระ
3.  มลภาวะจากเสียง
4.  สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางการจราเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บบนถนน
ผลกระทบต่อสุนัขและแมว
1. เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บโดยเจ้าของฟาร์ม,ปศุสัตว์
2.  โรค
3.  ภาวะขาดอาหาร (ทุพโภชนา)
4.  ดุร้าย
5.  ถูกทำลาย โดยผู้มีอำนาจหน้าที่

ข้อเสนอแนะในการแก้ไข
 1. ทำหมันถาวรสุนัขจรจัดในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เพิ่มจำนวน
2. ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสุนัขที่ไม่จำเป็นต้องซื้อ เช่น รับต่อมาจากผู้ที่มีมากเกินไป หรือนำสุนัขจรจัดที่ฟื้นฟูหรือได้มาเลี้ยงแทนการฆ่า
3. ประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายเข้าใจและร่วมมือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
4.ให้มีการขึ้นทะเบียนสุนัขตามบ้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบ ความเป็นเจ้าของและวัดผลทางสถิติได้
5.การให้ความรู้เพื่อให้เจ้าของสัตว์เกิดความรับผิดชอบและให้ประชาชนช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งเห็นถึงประโยชน์ของการทำหมัน

สุนัขจรจัด ปัญหาสังคมที่ถูกมองข้าม

สุนัขจรจัด ปัญหาสังคมที่ถูกมองข้าม
สุนัขสัตว์เลี้ยงที่แสนน่ารักของใครหลายๆคน เป็นที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบัน สุนัขมีหลายสายพันธ์ แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนที่ชอบ ตามธรรมดาแล้วลูกสุนัขเมื่อแรกเกิดจะน่ารักมาก มีขนปุกปุยฟูรอบตัว หน้าตาน่ารัก น่าเอ็นดู ทำให้น่ารักและน่ากอด ขี้ประจบ ชอบเล่นซุกซน และทำให้คนอยากมีสุนัขไว้เป็นเพื่อน มีการเพาะพันธุ์สุนัขขายทั่วไปและเกิดจากการผสมพันธุ์กันเองของสุนัข จนมีมาเกินความต้องการ การเป็นปัญหาสังคม สุนัขหลายตัวถูกทอดทิ้ง สุนัขที่เราเห็นเดินเกะกะหาอาหารอยู่แถวถนนส่วนมากเป็นลูกสุนัขที่เกิดจากสุนัขจรจัด แต่บางตัวก็เป็นลูกสุนัขบ้านที่เกิดจากสุนัขที่มีบ้านอยู่ สุนัขที่มี เจ้าของ สุนัขจรจัดเหล่านี้ส่วนมากแล้วไม่เคยได้รับการทำหมัน ลูกสุนัขที่เกิดขึ้นในบ้านและที่เจ้าของไม่ต้องการเลี้ยงก็ถูกนำเอามาปล่อยทิ้ง ส่วนมากแล้วลูกสุนัขเหล่านี้จะถูกนำมาปล่อยแถวที่ ถนน ตลาดหรือวัด แทนที่จะรับผิดชอบหาที่อยู่ให้กับลูกสุนัข ถ้าไปตลาด ศูนย์การค้า บริเวณที่จอดรถ อาจจะได้พบสุนัขที่น่าสงสารเหล่านี้  พบกับดวงตาที่อ่อนแสงแสดงความเป็นมิตร เดินเกะกะ รอคอยอาหารเหลือเททิ้งจากร้านค้า จากรถเข็นขายอาหาร เดินหาอาหารตามที่ทิ้งขยะ กินแทบทุกอย่างที่ขวางหน้าเพื่อปะทังความหิวและเพื่อความอยู่รอด มันเป็นชีวิตที่ หมดหวังความหวังหมดไปตั้งแต่แรกเริ่มถูกเอามาปล่อยทิ้ง แรกเริ่มที่มองหาเจ้าของไม่พบ ปล่อยให้อยู่แบบยถากรรม


        ที่วัด สุนัขที่น่าสงสาร ที่ถูกนำมาปล่อยเหล่านี้ต้องต่อสู้ดุเดือดมากขึ้นอีกหลายเท่านัก เพราะวัดเองก็ไม่สามารถจะหาอาหารมาเลี้ยงสุนัขเหล่านี้ได้ทั้งหมด สุนัขต้องต่อสู้หาอาหารเอง ต้องปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มพวกสุนัขเจ้าถิ่นที่อยู่ในวัดมาก่อนให้ได้เพื่อความอยู่รอด เพราะถ้าเข้ากับพวกสุนัขที่อยู่ก่อนไม่ได้ก็หมายถึงตาย จะถูกรุมกัดและบาดเจ็บจนตาย การหาอาหารกินในวัดและตามแถวหมู่บ้านแสนจะลำบากยากเย็น เพราะส่วนมากชาวบ้านเขาก็มักจะเลี้ยง หมาเฝ้าบ้านไว้ป้องกันบ้านของเขากันอยู่แล้ว ไม่มีเศษอาหารหลงเหลือมาถึงพวก หมดหวังน่าสงสารเหล่านี้ บางวัดมีสุนัขที่เจ้าของนำมาปล่อยทิ้งที่วัดร่วมร้อยกว่าตัว เป็นจำนวนที่น่าตกใจ ไม่ใช่เพราะท่านเจ้าอาวาสท่านต้องการจะเลี้ยงสุนัขมากมายอย่างนี้ แต่ท่านก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ และบางวัดก็ยังมีเจตนาร้ายที่ต้องการกำจัดสุนัขออกจากวัดอีกด้วย ทั้งนี้เพราะเจ้าของสุนัขที่นำสุนัขมาปล่อยไม่มีความคิด ไม่มีความกรุณาสงสารและไม่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น สุนัขมักจะถูกรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์วิ่งทับ วิ่งชนอยู่เป็นประจำ อุบัติเหตุเกิดขึ้นขณะที่วิ่งข้ามถนน นอนหลับอยู่ข้างรถ ใต้รถหรือแม้กระทั่งนอนหลับอยู่บนขอบข้างถนนก็ไม่เว้นถูกรถชน ถูกรถทับ สุนัขจรจัดและสุนัขที่ถูกทอดทิ้งเหล่านั้น ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย บาดเจ็บหรือเมื่อเริ่มแก่ตัวลง จากชีวิตที่ต่อสู้เพื่อความอยู่รอด มีร่องรอยบาดแผล ไม่มีขนปุกปุย หน้าตาไม่น่ารัก ไม่น่ากอดเหมือนเมื่อตอนยังเป็นลูกสุนัข สุนัขเหล่านี้ไม่มีสภาพอยู่ในเกณฑ์ที่จะประกาศหาผู้อุปการะเลี้ยงได้

7 เรื่องจริงของน้องหมาไร้บ้านทั่วโลก

7 เรื่องจริงของน้องหมาไร้บ้านทั่วโลก
      1. ใน 1 ปีแค่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีน้องหมารวมทั้งสัตว์อื่นๆ อย่างน้องแมว กระต่ายต้องเข้ามาอยู่ยังศูนย์พักพิงสัตว์ประมาณ 5-7 ล้านตัว และยังมีอีกหลายตัวที่ต้องรอคิวเพื่อเข้ามาอยู่ในสถานพักพิงสัตว์ (ถ้าทั้งโลกจะมากขนาดไหนเนี่ย?)
      2. ในแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี มีน้องหมาในศูนย์พักพิงสัตว์ถูกทำให้ตายด้วยวิธีการุณยฆาตเนื่องจากมีพื้นที่ไม่พอให้พวกเขาได้อาศัย แต่ก็ยังมีน้องหมาจรจัดจำนวนมากรอเข้าคิวมายังศูนย์พักพิงสัตว์อยู่ทุกวัน
      3. น้องหมาจรจัดที่เกิดมาใหม่มีเพียง 1 ใน 10 ตัวเท่านั้นที่มีบ้านให้อยู่ถาวร
      4. สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้น้องหมาต้องไร้บ้านก็คือ เจ้าของตัดสินใจไม่เลี้ยง เอามาทิ้ง หลงทาง อีกทั้งไม่มีการคุมกำเนิดน้องหมาตามท้องถนน
      5.  25 เปอร์เซ็นต์ของน้องหมาที่อยู่ในศูนย์พักพิงเป็นน้องหมาพันธุ์แท้(แต่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะเป็นน้องหมาพันธุ์ผสมหรือพันธุ์ทาง)
      6. เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ทิ้งน้องหมาไว้ในสถานพักพิงสัตว์นั้นต่างก็รับน้องหมามาจากสถานพักพิงสัตว์นั้นๆ 
      7. น้องหมาหลายตัวต้องกลายมาเป็นน้องหมาจรจัดเพราะการดูแลจัดการไม่ดี น้องหมาเผลอหลุดออกมานอกบ้าน กลับไม่ถูก บางตัวไม่ได้มีการฝังไมโครชิพ สวมปลอกคอใส่ที่อยู่ จึงต้องการมาเป็นน้องหมาเร่ร่อนนั่นเอง

ที่มา : http://www.dogilike.com/content/tip/2885/

พิชิตปัญหาสัตว์เลี้ยง-คิดให้ดีก่อนมีหมาจรจัด

พิชิตปัญหาสัตว์เลี้ยง-คิดให้ดีก่อนมีหมาจรจัด
      









       การอุปการะหมาจากสถานเลี้ย งหรือสงเคราะห์หมาจรจัด จึงเป็นกิจกรรมที่ทุกแห่งต้องมี โดยเฉพาะกับหมาจรจัดซึ่งมิใช่หมาเด็ก เป็นหมาที่อยู่ในวัยรุ่น วัยฉกรรจ์ไปจนถึงบางตัวก็มีอายุพอควร ส่วนหมาเด็กไม่ค่อยต้องห่วงเนื่องจากออกตัวง่าย ใคร ๆ ก็ช่วยอุปการะ ด้วยความเชื่อว่ามันจะเชื่องและเชื่อฟังกว่าหมาโต ดังนั้นหมาโตจึงคั่งค้างอยู่เป็นปัญหาและภาระของสถานสงเคราะห์ต่อไป เมื่อสั่งสมมากเข้าก็ทำให้เกิดปัญหาหมาล้น ซึ่งยากแก่การแก้ไข ผู้ดำเนินการก็ปวดหัวกับเรื่องนี้อยู่ทุกๆแห่ง
          สำหรับผู้ที่มีจิตใจดีอยากช่วยสัตว์ผู้ยาก ด้วยการรับเข้าไปในบ้าน ถ้าไม่มีปัญหาจากหมาก็ดีไป แต่หลายๆ รายกลายเป็นได้รับทุกข์แทน เช่น หมาดื้อไม่เชื่อฟัง หมาเอาแต่หลบหนี หมาไม่ยอมให้จับต้องตัว หมาเห่าหอนไม่หยุดหย่อน หมากัด! ฯลฯ จนถึงกับต้องส่งคืนก็มี ซึ่งน่าเห็นใจครับ สงสารทั้งผู้ใจบุญและหมาผู้ด้วยบุญ สิ่งสำคัญสำหรับผู้อยากช่วยสงเคราะห์อุปถัมภ์หมาจรจัดเหล่านั้นควรจะต้องเข้าใจ ตระหนัก พิจารณา เพื่อเตรียมตัวตัดสินใจก่อนการรับสงเคราะห์หมา โดยใช้เกณฑ์ดังนี้
          1.หากครอบครัวคุณมีเด็กเล็กหรือกำลังจะมี อย่าเพิ่งอุปการะหมา หาบ้านให้ใหม่นะครับ เพราะอาจก่อปัญหากับเด็กเล็กในอนาคตได้
          2.หากบ้านคุณไม่มิดชิด คือปราศจากรั้วรอบขอบชิด ป้องกันหมามิให้เล็ดลอดไปได้ ก็ต้องจัดการให้สมบูรณ์ก่อนครับ
          3.หากที่บ้านมีหมาอยู่เดิม มีนิสัยค่อนข้างดุ ก้าวร้าว ขี้หวง ยังไม่ได้ทำหมันหรือตอน ฯลฯ อย่านำหมาจรจัดเข้าไปเลี้ยงอีก โอกาสไม่เข้ากันเป็นไปได้สูง
          4.หากคุณไม่มีเวลาให้หมาจริงๆ ไม่สามารถปลีกเวลามาเล่น ดูแล และให้ความรักแก่เขาได้ ก็อย่ารับมาเลี้ยงเพราะหมาจรจัดต้องการมาก
          5.หากคุณเป็นคนที่ต้องเดินทางบ่อย ไม่อยู่บ้านเป็นประจำ จำต้องปิดบ้านไว้โดยไม่มีใครอยู่ดูแล ก็ไม่ควรนำหมาเหล่านี้เข้ามาเลี้ยงเพราะหมาจะรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งอย่างที่เคยโดนมาก่อน ทรมานเขาอีกครั้ง คล้ายกับหนีเสือปะจระเข้อย่างนั้นแหละครับ
          6.แม้ที่บ้านจะมีหมาเดิมอยู่ และไม่ใช่หมาก้าวร้าว คุณก็ต้องแน่ใจว่ามีเวลาแนะนำ และช่วยปรับตัวให้หมาเข้ากับหมาเดิมได้ ซึ่งต้องใช้เวลาอยู่พอควร
          7.พิจารณาดูตัวเองว่ามีคุณสมบัติความเป็นผู้นำ หรือจ่าฝูงได้ดีแค่ไหน เมื่อต้องควบคุมหมาที่มีอยู่เดิม และหมาตัวใหม่ที่นำเข้ามา ต้องมั่นใจว่าเข้มแข็งพอจะหย่าศึกได้นะครับ
          8.ถ้าคุณเป็นคนขี้รำคาญต้องรู้ว่าหมาจรจัดนั้นเขาจะติดเจ้าของใหม่มาก และมักติดตามคุณทุกฝีก้าวเนื่องจากกลัวถูกทอดทิ้งซ้ำอีก (เดิมก็ถูกทิ้งให้เป็นหมาจรจัดไปรอบหนึ่งแล้ว) จนดูราวกับพัวพันนัวเนียอยู่รอบๆ ตัวคุณตลอดเวลา ถ้าเข้าใจเสียหน่อยก็ไม่เป็นปัญหาหรอกครับ
        9.ควรให้เวลา ใช้เวลาไปศึกษานิสัยใจคอและอารมณ์ของหมาตัวที่คุณหมายตาไว้ก่อนนำเข้าบ้าน ทำความรู้จักมักคุ้นเสียก่อนจนมั่นใจว่าคุณรู้ใจเขา เขารู้ใจคุณ มีความผูกพันกันก่อนจึงนำมาเลี้ยงครับ

ที่มา: http://www.naewna.com/index.php

ภัยร้ายจากเห็บสุนัข

เห็บสุนัข มีลักษณะแตกต่างจากแมลงโดยทั่วไป คือเห็บเต็มวัยมี 8 ขา เห็บจะไม่มีหัวมีแต่ส่วนที่เป็นปากยื่นออกมาให้เห็นเท่านั้น ขนาดของเห็บโตเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เห็บจะใช้ส่วนปากของมันแทงเข้าใต้ผิวหนังและเกาะติดแน่นบนตัวสุนัขแล้วดูดกินเลือดเป็นอาหาร เห็บตัวเมียซึ่งได้รับการผสมพันธุ์จากเห็บตัวผู้บนตัวสุนัข แล้วจะดูดเลือดจนตัวเป่งจนขยายตัวเต็มที่อาจมีขนาดถึง 12 มิลลิเมตร มองดูคล้ายเมล็ดลูกหยี เมื่อมันจะวางไข่ มันจะถอนส่วนปากออกจากผิวหนัง หล่นจากตัวสุนัขแล้วไปหาที่วางไข่ หลังจากตัวเมียวางไข่แล้วก็จะแห้งตาย และก่อนที่เห็บจะออกจากตัวสุนัขทุกครั้งเห็บจะดูดกินเลือดจนตัวเป่งเต็มที่ก่อนเสมอ

       เห็บมีวงจรชีวิต 4 ระยะ ระยะแรกคือไข่ ตัวเมียจะวางไข่เพียงครั้งเดียวซึ่งจะใช้เวลาในการวางไข่ประมาณ 10 วัน ไข่ทั้งหมดจะรวมอยู่กันเป็นกอง ๆ ประมาณ 2,000 ถึง 4,000 ฟอง จากนั้นตัวอ่อนจะมีการออกจากตัวสุนัข 3 ครั้ง เพื่อลอกคราบ โดยสามารถอาศัยอยู่ตามพื้นบ้าน ผนัง มุมกรงสุนัข ตลอดจนสนามหญ้าที่สุนัขเดินผ่าน แล้วลงมาวางไข่นอกตัวสุนัข ไข่ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ในการฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ซึ่งจะมีเพียง 6 ขาเท่านั้น เคลื่อนที่ได้ไวมาก ตัวอ่อนนี้จะขึ้นไปกินเลือดบนตัวสุนัขอย่างน้อย 2 -3 วัน เมื่ออิ่มแล้วจะหล่นจากตัวสุนัข ไปหาที่ลอกคราบ กลายเป็นตัวกลางวัย ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าตัวอ่อนอย่างเห็นได้ชัดและมี 8 ขา ตัวกลางวัยนี้จะกินเลือดบนตัวสุนัขอีก และจะหล่นลงสู่พื้นเมื่อกินอิ่มแล้วเช่นกัน
จากนั้นจะลอกคราบกลายเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งจะต้องขึ้นบนตัวสุนัขอีกเพื่อดูดเลือดและผสมพันธุ์ต่อไป วงจรชีวิตของเห็บชนิดนี้จะ สมบูรณ์ได้ในเวลา ประมาณ 45-50 วัน แล้วแต่อุณหภูมิและความชื้นในอากาศ เห็บแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก ถ้าเจ้าของสุนัข ไม่เอาใจใส่สุนัข ปล่อยให้มีเห็บทั้งบนตัวสุนัขและภายในบ้าน จะพบเห็บในปริมาณมากจนน่าตกใจ สุนัขอาจตายจากเห็บ จาการเสียเลือดทำให้ผอม และอ่อนเพลียแล้ว เห็บยังสามารถนำโรคร้ายแรง อื่นๆ มาให้สุนัขอีกด้วย

คนส่วนใหญ่เมื่อจับเห็บจากตัวสุนัขได้มักจะชอบบี้ให้ตาย นั่นจะเป็นการทำให้ไข่ของเห็บแพร่กระจายได้รวดเร็ว เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง

ปัญหาและอันตรายที่เกิดจากเห็บ

1. สูญเสียเลือดอย่างเรื้อรัง และเกิดสภาวะโลหิตจางเนื่องจากทุกระยะของเห็บยกเว้นไข่จะดูดกินเลือดสุนัขนั่นเอง
2.  เกิดบาดแผลบนผิวหนังของสุนัข ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่สภาวะผิวหนังติดเชื้อเป็นหนอง
3.  ก่อให้เกิดความรำคาญและอาการคัน เนื่องจากน้ำลายเห็บ ทำให้สุนัขเกาและเกิดแผลตามมาได้
4.  การติดเชื้อพยาธิในเม็ดเลือด
   4.1  โรคไข้เห็บ (Babesiosis)
   4.2  Ehrlichiosis
   4.3 Hepatozoonosis
5.  ทำให้เกิดอัมพาตเนื่องจากเห็บ (Ticks paralysis)

การควบคุมและกำจัด
1.  การควบคุมโดยการใช้สารเคมี
2.  การควบคุมโดยชีววิธี
3.  การควบคุมแบบผสมผสาน
4.  การควบคุมโดยการใช้วัคซีน
ซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการควบคุมโดยการใช้สารเคมีเท่านั้น เนื่องจากอีก 3 วิธีที่เหลือยังไม่เป็นที่นิยมและอยู่ในระหว่างการศึกษาทดลอง

รูปแบบของการใช้สารเคมีในการกำจัดเห็บ
1. แชมพูกำจัดเห็บหมัด ประกอบไปด้วย แชมพูฟอกและทำความสะอาดตัวสุนัข ซึ่งจะมีส่วนของสารเคมีหรือสารสกัดจากธรรมชาติที่มีผลในการกำจัดเห็บหมัด ซึ่งส่วนใหญ่จะทำให้เห็บหลุดจากตัวสุนัขชั่วคราว การอาบต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที ก่อนล้างออก
2. แป้งโรยตัว ซึ่งผู้ผลิตมักแนะนำให้โรยตัวหลังอาบน้ำ แต่ผู้เขียนเห็นว่าควรจะโรยตัวก่อนการอาบน้ำมากกว่า เพื่อขจัดสารเคมีออกจากตัวสุนัขก่อนที่สุนัขจะเลียแล้วก่อให้เกิดความเป็นพิษได้
3.  สเปรย์ ใช้สารเคมีเจือจางพ่นลงบนตัวสุนัขโดยเฉพาะบริเวณที่เห็บเกาะ มีผลทำให้เห็บตายได้
4.  สารเคมีเข้มข้นชนิดผงหรือสารละลาย ที่ใช้ผสมน้ำเพื่อราดตัว จุ่มตัว หรืออาบตัวสุนัขเพื่อฆ่าเห็บและหมัด เหา สุนัขได้
5.  กลุ่มเวชภัณฑ์ชนิดฉีด มีฤทธิ์ทำให้เห็บเกิดอัมพาตจนตายได้
6.  กลุ่มสารเคมีหยดผิวหนัง (Spot on) สารเคมีจะคงตัวอยู่ในชั้นไขมันใต้ผิวหนังในช่วงเวลาหนึ่ง มีฤทธิ์ในการฆ่าเห็บหมัด
7.  ปลอกคอกันเห็บหมัด (Collars) 

วิธีการควบคุมเห็บที่ถูกต้อง
เพื่อให้การควบคุมเห็บมีประสิทธิภาพสูง จำเป็นต้องมีการควบคุมเห็บพร้อมกันทั้ง 2 ส่วน คือ
1.   การควบคุมบนตัวสุนัข
2.   การควบคุมภายนอกตัวสุนัข หรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย โดยการพ่นสารเคมีกำจัดเห็บตามบริเวณซอกกรง บริเวณที่สุนัขนอน สนามหญ้า โดยใช้เครื่องสเปรย์คันโยกหรือฝักบัวรดน้ำต้นไม้

หลักในการควบคุมเห็บสุนัขให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ อาจสรุปได้ดังนี้
1.   เลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง และเห็บไม่ดื้อต่อสารชนิดนั้น
2.   มีการควบคุมเห็บทั้งบนตัวสุนัขและภายนอกตัวสุนัข
3.   เลือกใช้วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
4.   ใช้สารเคมีในขนาดที่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในฉลากกำกับสารเคมี
5.   ทำการควบคุมเห็บในสุนัขทุกตัวที่เลี้ยงอยู่รวมกัน หรือใช้พื้นที่ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

6.   สามารถใช้รูปแบบการควบคุมเห็บบนตัวสุนัขได้มากกว่า 1 วิธี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

8 อันดับโรคของสุนัข

8 อันดับโรคของสุนัข

1.โรคไข้หัด 
โรคนี้เกิด จากเชื้อไวรัส มักเกิดกับลูกสุนัขอายุน้อย ๆ ตั้งแต่ 2-3 เดือน บางครั้งก็พบว่าเกิดใน สุนัขที่โตแล้วเมื่อสุนัขเป็นโรคนี้โอกาสที่จะหาย นั้น มีน้อยมาก โดยอาการของมันก็แสดงออกมาทางอาการประสาท ตัวกระตุก หรือชักตลอดชีวิตส่วนใหญ่แล้วตาย อย่างทรมาน อาการของโรค เราสามารถสังเกตได้จากการที่สุนัขมีน้ำมูกสีเขียวไหลย้อย ดูเหมือน ปอดบวม มีไข้ เบื่ออาหาร ซึมมีตุ่มหนองขึ้นที่ใต้ท้อง มีขี้ตาสีเขียวๆเกอะกรังตลอดเวลาเมื่ออาการทวีความรุนแรงขึ้นจะพบว่ามีอาการทางประสาท คือปากสั่น กระตุก และลามไปที่บริเวณหนังหัว ใบหน้า ขาหลัง อาจจะพบบริเวณฝ่าเท้า กระด้างขึ้น บางรายพบว่ามีท้องร่วงร่วม เราสามารถป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หัดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุ 2 เดือน เป็นเข็ม แรกหลังจากนั้นอีกหนึ่งเดือน ก็พาไปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง เป็นการ กระตุ้นภูมิคุ้มกันและฉีดซ้ำทุก ๆ ปี ปีละ 1 ครั้ง
 
2.โรคปอดบวม 
โรคนี้จะพบมากในสุนัขเล็ก ๆ และสุนัขที่มีอายุมากแล้วเนื่องจากว่า สุนัขในวัยดังกล่าวมีภูมิคุ้มกันที่น้อยอยู่โรคนี้เกิดจากหลายสาเหตุได้แก่เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย พยาธิทำลาย ปอด ทำให้ปอดอักเสบ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สุนัขจะมีอาการซึม มีไข้สูงมาก อาจถึง 106 องศาฟาเรนไฮต์เบื่ออาหาร จนถึงไม่กินอาหาร ชอบหลบไปนอนในที่เย็น ๆ เช่น ห้องน้ำ ข้างโอ่งหายใจกระหืดกระหอบ มีขี้มูกไหลออกมามีสีขาวจนถึงสีเขียวข้น บางครั้งมี อาเจียน ไอ มีเสลดหนาในลำคอบางตัวเป็นมาก ๆน้ำท่วมปอดต้องนั่งตลอดเวลานอนไม่ได้ หายใจไม่ออกบางครั้งต้องหายใจทางปากเนื่องจากจมูกอุดตันไปด้วยน้ำมูก ข้อควรปฏิบัติคือ รักษาความสะอาด ให้ความอบอุ่น โดยเฉพาะที่คอ หน้าอก และหลัง ปูรองพื้นที่นอนด้วยผ้า อย่าให้นอนในที่เย็นหรืออับชื้นหรือโดนฝนสาด และนำสุนัข ไปพบสัตว์แพทย์เพื่อรักษา

3.โรคพาร์โวไวรัส หรือลำไส้อักเสบ 
โรคพาโวไวรัสหรือลำไส้อักเสบเป็นโรคที่มีการระบาดทั่วโลก สามารถเกิดการ ระบาดได้ง่ายรวดเร็วและรุนแรง สุนัขจะตายเนื่องจากเกิด ท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียนไม่กินอาหาร มีไข้ สูง ร่างกายสูญเสียน้ำมาก ทำให้ตายอย่างรวดเร็วโรคนี้พบมาในสุนัขอายุ 2-6 เดือน หลังจากได้รับเชื้อโรคไปแล้วประมาณ5-7 วัน สุนัขจะไม่กินอาหาร มีไข้สูง ๆ ต่ำๆ แสดงอาการอาเจียนบ่อย ต่อมาไข้ขึ้นสูง นอนซึม หมดแรงเพราะอาเจียนอย่างมาก เริ่มมีอาการท้องร่วง ถ่ายออกมาเป็นน้ำเหลวสีโอวัลตินหรือสีแดง มีเลือดปนออกมามีกลิ่นเหม็นคาวมาก ไวรัสจะ เข้าไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ช็อคตายได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติโรคนี้ไม่มียารักษาโดยตรง เพียงแต่รักษาตามอาการที่พบเท่านั้น ทางที่ดีควรหา ทางป้องกันจะดีกว่า โดยการฉีดวัคซีนตั้งแต่ลูกสุนัขอายุได้ 2 เดือน และกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยฉีดวัคซีนอีกครั้งเมื่ออายุได้ 3 เดือน หลังจากนั้นก็ฉีดกระตุ้นทุกปี ปีละ1 ครั้ง

4.โรคหัด หรือ ดิสเทมเปอร์ 
โรคไข้หัด หรือดิสเทมเปอร์ เป็นโรคที่ฮิตติดอันดับสำหรับโรคสุนัขโรค หนึ่ง โรคนี้เกิด จากเชื้อไวรัส มักเกิดกับลูกสุนัขอายุน้อย ๆ ตั้งแต่ 2-3 เดือน บางครั้งก็พบว่าเกิดใน สุนัขที่โตแล้วเมื่อสุนัขเป็นโรคนี้โอกาสที่จะหาย นั้น มีน้อยมาก โดยอาการของมันก็แสดงออกมาทางอาการประสาท ตัวกระตุก หรือชักตลอดชีวิตส่วนใหญ่แล้วตาย อย่างทรมาน อาการของโรค เราสามารถสังเกตได้จากการที่สุนัขมีน้ำมูกสีเขียวไหลย้อย ดูเหมือน ปอดบวม มีไข้ เบื่ออาหาร ซึมมีตุ่มหนองขึ้นที่ใต้ท้อง มีขี้ตาสีเขียวๆเกอะกรังตลอดเวลาเมื่ออาการทวีความรุนแรงขึ้นจะพบว่ามีอาการทางประสาท คือปากสั่น กระตุก และลามไปที่บริเวณหนังหัว ใบหน้า ขาหลัง อาจจะพบบริเวณฝ่าเท้า กระด้างขึ้น บางรายพบว่ามีท้องร่วงร่วม เราสามารถป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หัดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุ 2 เดือน เป็นเข็ม แรกหลังจากนั้นอีกหนึ่งเดือน ก็พาไปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง เป็นการ กระตุ้นภูมิคุ้มกันและฉีดซ้ำทุก ๆ ปี ปีละ 1 ครั้ง
5.โรคพิษสุนัขบ้า  
-เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบี้ส์ (Rabies) ไวรัสชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ในระบบประสาทมากที่สุด มันจะทำให้สุนัขมีอาการทางประสาท ทำให้เราเรียกว่าบ้า นอกจากสุนัขแล้ว เชื้อไวรัสนี้ยังสามารถติดต่อคน และสัตว์อื่นได้ ถ้าโดนสุนัขที่มีเชื้อกัด อาการสุนัขนี้แบ่ง ออกได้เป็น 2 แบบ คือ/ แบบดุร้าย และ แบบซึม
-อาการซึมของสุนัขจะไม่แสดงอาการดุร้ายออกมานอกจากเราพยายาม จะจับหรือเข้า ใกล้ มันอาจจะขู่หรือกัดได้ สุนัขจะหลบซ่อนตามซอกมุมหรือ ไม่ออกมากินน้ำ อาหาร ลิ้นจะห้อยออกมา น้ำลายไหลตลอดเวลา
-ส่วนอาการแบบดุร้าย สามารถแบ่งออกได้ 3 ระยะ ระยะเริ่มแรกอารมณ์และอุปนิสัยของสุนัขเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีอารมณ์ หงุดหงิดอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย รูม่านตาจะขยายมากกว่าปกติ อาการเริ่มแรก จะแสดงอาการประมาณ 2-3 วัน จะเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 2หรือระยะตื่นเต้นเป็นระยะที่แสดงอาการกระวน กระวาย ระบบประสาทตอบสนองอย่างฉับไวและรุนแรงต่อเสียงหรือสิ่งกระตุ้น ต่อมามันจะเริ่มกระวนกระวาย กัดสิ่งที่อยู่รอบตัว บางครั้งรุนแรงจนเลือดออก แล้วเริ่มวิ่งอย่างไร้จุดหมาย แสดงอาการบ้าอย่างชัดเจน เสียงเห่าหอนผิดปกติ เนื่องจากการเกิดเกิดอัมพาตของ กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคี้ยวและการกลืน ต่อมาอาการอัมพาตจะขยายและเป็นทั้งตัว และตายไปในที่สุด โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้เราต้องป้องกันล่วงหน้า โดยการฉีดวัคซีนเมื่อสุนัขอายุ 3เดือนขึ้นไป และฉีดซ้ำทุก ๆ ปี ถ้าเป็นสุนัขที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน หากนำไปฉีดแล้ว ต้องฉีดซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 3 เดือน จากนั้นก็ฉีดซ้ำทุก ๆ ปี

6.โรคเห็บหมัดสุนัข  
 อากาศในบ้านเราเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเห็บและหมัด เห็บที่อยู่ตามตัว สุนัขสามารถ ไข่ได้ครั้งละหลายพันฟองตามพื้นดิน หรือตามซอกต่าง ๆ เห็บมีอยู่ 2 ประเภท
1.พวกตัวแบนสีน้ำตาล
2.ตัวโตบวมคล้ายลูกเกตุ
ทั้งคู่เป็นชนิดเดียวกัน เพียงแต่พวกแรกเป็นตัวผู้ พวกที่สอง เป็นตัวเมียในตัวเมียจะมีไข่หมัดอยู่เต็ม ต้องห้ามบีบเนื่องจากจะเป็นการทำให้ไข่หมัด แพร่กระจายให้นำหมัดและเห็บแช่ในน้ำมัน จะทำให้มันตาย สุนัขบางตัวจะมีการแพ้น้ำลายเห็บ,หมัดทำให้มีการแพ้ที่ผิวหนังและเห็บ, หมัดยังเป็นพาหะ นำโรคพยาธิในเม็ดเลือดมาแพร่ได้เราจะสามารถพบหมัดได้มากบริเวณ ลำคอ,หู,ง่ามนิ้วเท้า.ไหล่ หน้าอก การป้องกันเห็บ,หมัดทำได้โดยอาศัยยาฆ่าเห็บที่มีขายทั่วไป โดยให้ใส่ที่ตัวสุนัข และบริเวณ ที่สงสัยว่าจะเป็นที่วางไข่และยังมีอุปกรณ์ป้องกันเช่น ปลอกคอกันหมัดและแชมพูอาบน้ำสุนัขก็ ยังสามารถฆ่าเห็บและหมัดได้ด้วย
7.พยาธิไส้เดือน 
พยาธิไส้เดือนหรือที่เรียกกันว่า พยาธิตัวกลมนั้นอาศัยอยู่ในลำไส้สุนัข ขนาด ยาวประมาณ 2-3 นิ้วเราจะพบมากในลูกสุนัข คอยแย่งอาหารที่ได้รับการย่อยแล้ว ทำให้สุนัขไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ สุนัขจะดูท้องโตเหมือนกินอิ่ม บางครั้งพยาธิก็มีมากจนตันลำไส้ทำให้ สุนัขตาย การติดต่อของพยาธิชนิดนี้สามารถติดต่อได้โดยสุนัขกินไข่พยาธิเข้าไป หรือ ถูกชอนไชผ่านทางผิวหนัง พยาธิสามารถติดต่อสู่ลูกสุนัขได้ทางกระแสเลือดของแม่ไปสู่ลูกหรือติดต่อผ่านทาง น้ำนมการป้องกันทำได้โดยถ่ายพยาธิก่อนการผมพันธุ์ และช่วงท้ายของการตั้งท้อง หลังจากลูก เกิดมาได้2-3 อาทิตย์ ก็ให้ถ่ายพยาธิ และถ่ายพยาธิทุก ๆ 2-3 เดือน
8.พยาธิไส้เดือน 
เป็นอาการโรคทางผิวหนัง โดยอาการของโรคนี้คือ สุนัขมีอาการคันขนร่วงคันตามผิวหนังบางตัวขนกลางหลังจะร่วง หรือร่วงหมดตัวสาเหตุของโรคนี้ เกิดจาก เห็บ หมัด อาการแพ้จากโรคพยาธิหัวใจการขาดฮอร์โมนบางชนิด แต่สาเหตุที่แท้จริงเกิดจากพยาธิผิวหนังเราสามารถให้สัตว์แพทย์ตรวจสอบได้ โดยสัตว์แพทย์จะขูดผิวหนังบริเวณที่เป็นไปตรวจ เพื่อหาสาเหตุ พยาธิที่ทำให้เกิดโรคเรื้อนมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน

1.เชื้อซาคอปติค เป็นขี้เรื้อนแห้ง ขนสุนัขจะร่วง ตกสะเก็ดแห้งเร็ว ถ้าเป็นแบบนี้รักษาได้ ไม่ยาก
2. ขี้เรือนที่อยู่ในต่อมน้ำเหลือง ที่รากโคนขน เกิดจากเชื้อดีโมเด็กซ์ หรือที่เรียก ขี้เรื้อนเปียก การรักษาขี้เรือนแบบนี้ทำได้ยาก การรักษาโรคนี้ต้องใช้เวลาในการรักษาและต้องดูแลรักษาความสะอาดเป็นอย่างดี