ชื่อสามัญ Orchid
ชื่อวิทยาศาสตร์ -
วงค์ ORCHIDACEAE
1. แพฟิโอเพดิลั่ม : Paphiopedilum Slipper orchid
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum
sp.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : รองเท้านารี
2. คัทลียา : Cattleya
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cattleya hybrids.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : ราชินีกล้วยไม้
3. แวนด้า : Vanda
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda Teres.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : ฟ้ามุ้ย เอื้องโมกข์
4. เด็นโดรเบี้ยม : Dendrobium
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : หวาย
5. แอริดิส : Aerides
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aerides
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น :เอื้องกุหลาบ
หนวดพราหมณ์
6. รินคอสไตลิส : Rhynchostylis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis
sp.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : ช้างกระ ช้างเผือก
7. แวนด๊อพซีส : Vandopsis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vandopsis
gigantea.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : พญาฉัททันต์
เขาพระวิหาร ลานนาไทย
8. แอสโคเซ็นตรั้ม : Ascocentrum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ascocentrum sp.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : เข็มแดง เข็มม่วง
9. ดอไรทิส : Doritis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Doritis
pulcherrima.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : กล้วยไม้ม้าวิ่ง
แดงอุบล
10. ไตรโคกล๊อตติส : Trichoglottis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichoglottis
fuscearta
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : เสือโคร่ง
ลักษณะทั่วไปของกล้วยไม้
กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
มีลำต้นเป้นข้อปล้อง ผิวเปลือกเรียบบางสีเขียว
การเจริญของลำต้นโดยการแยกหน่อออกจากข้อ
กล้วยไม้บางชนิดเรียกส่วนของข้อและปล้องว่าลำลูกกล้วยบางชนิดมีระบบรากแบบกึ่งอากาศใบเรียงตัวสลับกันตามข้อลักษณะใบ
เรียบสีเขียว ขนาดของใบและลักษณะอื่น
ๆ แตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอดหรือข้อของลำต้น
ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 10-30 ดอก ลักษณะดอกมีเดือยอยู่ตรงกลาง กลีบดอกแยกออกเป็นส่วน
ๆ เรียงตัวกันรอบเกสร มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ
ซึ่งมีสีสรรและขนาดของดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การเป็นมงคลของกล้วยไม้
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกล้วยไม้ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความประทับใจแก่บุคคลทั่วไปเพราะลักษณะดอกของกล้วยไม้แสดงถึงความงดงาม
ประทับใจยิ่งแก่บุคคลทั่วไปที่ได้พบเห็น
นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่ายังช่วยทำให้คนในบ้านเป็นผู้มีจริยธรรม
เพราะการดูแลกล้วยไม้ให้เกิดดอกที่สวยงาม ต้องเป็นผู้มีจิตใจ และอุปนิสัยเยือกเย็น
มีความปราณีตและละเอียดละออ
ยังมีกล้วยไม้บางชนิดได้รับการยกย่องให้เป็นราชินีกล้วยไม้ ได้แก่ กล้วยไม้ชื่อ
คัทลียา (Catteya) ทั้งนี้เพราะมีความสวยงามมากเป็นที่ประทับใจแก่สังคมทั่วไป
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นไม้ไว้ทางทิศตะวันออกผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ
เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้ เอาประโยชน์
ทั่วไปทาดอกให้ปลูกในวันพุธ ถ้าให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ
และประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้น
การปลูกกล้วยไม้ วิธีที่นิยมปลูกมี 2
วิธี คือ
1.
การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงแบนแบบแหวนห้อยได้
จะเป็นกระถางไม้
หรือกระถางดินเผาก็ได้แต่ต้องเป็นชนิดที่โปร่งระบายน้ำได้ดีเพราะกล้วยไม้ใช้รากในการหายใจด้วยและยึดเกาะทรงต้นให้แข็งแรงด้วยขนาดกระถางปลูก6-12นิ้วถ้าใช้กระถางทรงสูงก็ได้ต้องใช้ไม้หลักที่หุ้มด้วยกาบมะพร้าวปักไว้ตรงกลางกระถางเพื่อให้รากยึดเกาะสำหรับวัสดุที่ใช้ปลูกนั้นได้แก่ดินผสมพิเศษหรือกาบมะพร้าวซึ่งลักษณะการปลูกขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ถ้าใช้เพื่อประดาบภายในอาคาร
ควรให้ได้รับแสงบ้างอย่างน้อย 3 - 5 วันต่อครั้ง
2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนนิยมใช้ไม้หลักที่หุ้มด้วยกาบมะพร้าวเพื่อให้รากยึกเกาะจะปลูกในแปลงปลูกบริเวณบ้าน
หรือทำเป็นสวนขนาดใหญ่ก็ได้ส่วนการปลูกแบบให้เกาะกับต้นไม้อื่นเช่นต้นไม้ยืนต้นวิธีปลูกโดยนำเอากาบมะพร้าวมาห่อหุ้มส่วนรากหรือโคนของกล้วยไม้เอาไว้
เพื่อให้ยึดติดกับต้นไม้ยืนต้นนั้นไว้
การปลูกแบบนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ด้วย
การดูแลรักษากล้วยไม้
แสง ต้องการแสงแดดรำไร หรือปานกลาง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง
ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง
ดิน ดินผสมพิเศษ กาบมะพร้าว
ปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ผสมพิเศษ
หรือปุ๋ยเคมี สูตร 10-10-10 5-10-5 อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก
ละลายน้ำฉีดพ่นตาม ใบ ควรให้ 1 - 2 เดือน / ครั้ง
การขยายพันธุ์ การแยกหน่อ การปักชำ การเพาะเนื้อเยื่อ
โรคและปัญหาที่พบบ่อย
1.โรค โรคเน่าดำ (Black not disease)
อาการ ใบและลำต้นมีรอยเป็นสีดำ
ต่อมาทำให้ใบเหี่ยวหลุดร่วง
การป้องกัน - อย่าให้น้ำแฉะเกินไป
-
รักษาความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องมือปลูก
การรักษา ตัดหรือทำลายส่วนที่เป็นโรคทิ้ง
หรือใช้ 8 ไฮดร๊อคซี่ควิโนลิ่น ซัลเฟต อัตราส่วนและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก
2.โรค โรคเหี่ยว Fusarium wilt
อาการ ใบและลำต้น มีสีเหลืองซีด แห้ง
บิดงอ
การป้องกัน - อย่าให้น้ำแฉะหรือมากเกินไป
-
รักษาความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องปลูก
การรักษา นำต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย
3.ศัตรู เพลี้ยไฟ
อาการ กลีบดอกแห้งและร่วง
การป้องกัน ใช้ยาคลอเดน 75%
อัตราและคำแนะนำการใช้ระบุไว้ตามฉลากฉีดพ่น บริเวณใบและดอกขณะ ดอกยังตูม
การกำจัด ใช้ยานิโคตินซัลเฟต 40%
อัตราและคำแนะนำการใช้ระบุไว้ตามฉลาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น